Skip to content

ทำไมต้องตีละลายมัทฉะด้วยฉะเซ็น

    ทำไมต้องตีละลายมัทฉะด้วยฉะเซ็น

    ทำไมต้องตีละลายมัทฉะด้วยฉะเซ็น สามารถใช้อุปกรณ์อื่นคนละลายแทนได้ไหม วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นนั้นจะมีความเป็นระเบียบ เรียบง่าย เต็มไปด้วยวัฒนธรรมและมารยาท คนญี่ปุ่นมีพื้นฐานเป็นคนรักธรรมชาติ สุภาพ อ่อนน้อม ถ้าให้พูดถึงในเรื่องด้านอาหาร เรามักจะเห็นว่าส่วนใหญ่เขาจะไม่ค่อยเน้นในเรื่องของเครื่องปรุงมาก แต่จะเน้นการลิ้มรสของอาหารมากกว่า

    ในเรื่องของน้ำชาก็เช่นกัน เขาจะให้ความสำคัญกับรสชาติ สี กลิ่น ที่มีความเป็นธรรมชาติอย่างมาก ต่างจากสินค้าของไทยเรา ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องของสีและกลิ่นหลากหลาย ซึ่งหาความเป็นธรรมชาติแท้ได้น้อยมาก แต่ถึงอย่างนั้นสินค้าก็ยังคงได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างแพร่หลายไม่ต่างจากชาของทางญี่ปุ่นเลย

    อย่างที่เราทราบกันดีว่าชาเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในทุก ๆ ปีและมีชาหลากหลาย เมื่อจำนวนสินค้าเพิ่มขึ้นสิ่งที่เพิ่มขึ้นตามก็คือวิธีการชงชาซึ่งจะมีความแตกต่างกัน ส่วนใหญ่เราจะเห็นชาที่เป็นใบจะถูกนำมาแช่ในน้ำร้อนเพื่อสกัดน้ำชาออกมา จะเป็นลักษณะการชงชาในแบบของจีน ถ้าเป็นในไทยก็จะมีการชงแบบเครื่องชงและถุงกรอง ทำในลักษณะชาชัก ส่วนใบชาที่ถูกผลิตออกมาให้เป็นชนิดผงอย่างเช่น ผงมัทฉะ ผงอูจิฉะ ทำไมถึงมีวิธีการชงที่ต่างกัน ถ้าเราไปดื่มชาที่ญี่ปุ่นเราจะเห็นว่าเขาจะไม่ได้ชงชาโดยใช้เครื่องสกัดหรือถุงกรอง แต่คนญี่ปุ่นจะใช้วิธีการตีละลายด้วยผงชาด้วย “แปรงไม้ไผ่” หรือเรียกอีกชื่อว่า ฉะเซ็น นั่นเอง

    ทำไมต้องตีละลายมัทฉะด้วยฉะเซ็น สามารถใช้อุปกรณ์อื่นคนละลายแทนได้ไหม

    ฉะเช็น ถือเป็นงาน Traditional Craft ของประเทศญี่ปุ่น ผลิตมาจากวัสดุที่เป็นไม้ไผ่ ซึ่งถูกนำมาใช้ในพิธีชงชาซะโด หรือเรียกอีกอย่างว่า ฉะโนะยุ เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของคนญี่ปุ่น ถูกคิดค้นขึ้นในยุคศตวรรษที่ 16 โดย เซนโนะริคิว เมื่อหลายปีก่อนรัฐบาลของญี่ปุ่นได้มีการจัดสอบรับรองเพื่อหาคนที่มีฝีมือ ซึ่งทั้วประเทศก็จะมีเพียง 10-12 คนเท่านั้น ส่วนใหญ่ก็ได้รับการสืบทอดมาจากรุ่นทวดทั้งสิ้น

    ชาเขียวมัทฉะ และชาเขียวอูจิฉะ เป็นชาที่ถูกผลิตขึ้นมาในรูปแบบผง ซึ่งจะมีขั้นตอนที่ละเอียดตั้งแต่การปลูกตลอดจนถึงวิธีชง โดยจะใช้การปลูกชาในที่ร่มในระยะเวลา 30 วันก่อนการเก็บเกี่ยว เพราะจะทำให้ได้ใบชาที่คุณภาพดีที่สุด ทั้งกลิ่น สีและรสชาติ ก่อนนำไปผ่านกระบวนการโม่ด้วยหินแล้วนำมาอบด้วยความร้อนในอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยไม่ผ่านการสกัดและปรุงแต่งสีและกลิ่นเพิ่ม เนื้อผงที่ได้จึงมีความละเอียด นุ่มนวล รสชาติกลมกล่อม สามารถะลายได้ง่ายในน้ำร้อน

    ผงมัทฉะจะต่างจากชาและกาแฟชนิด 3in1 ผงโกโก้และโอวัลติน เพราะมัทฉะไม่มีคุณสมบัติที่สามารถละลายน้ำได้ ถ้าหากเรานำมาผสมน้ำแล้วใช้ช้อนคนเหมือนเราชงกาแฟหรือโอวัลติน เราจะเห็นตะกอนของผงมัทฉะได้อย่างชัดเจน ดังนั้นฉะเซ็นจึงถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในการชงมัทฉะ ส่วนวิธีการชงก็อาจจะยึดหลักการของทางญี่ปุ่น นั่นก็คือเราจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับไว้ชงชาประเภทมัทฉะโดยเฉพาะ ซึ่งอุปกรณ์ที่กล่าวถึงคือ ฉะเซ็น หรือแปรงไม้ไผ่สำหรับชงมัทฉะ ช้อนไม้ไผ่สำหรับตักมัทฉะ และถ้วยเซรามิคสำหรับคนมัทฉะ เป็นต้น

    สามารถใช้อุปกรณ์อื่นแทนฉะเซ็นได้ไหม ?

    อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายและสามารถนำมาใช้ตีแทนการใช้ฉะเซ็นได้จะมีอยู่ 2 ชนิด ด้วยกัน ด้งนี้

    1. ตะกร้อตีไข่ไฟฟ้าที่ใช้ทำขนม

    2. เครื่องตีฟองนมไฟฟ้าแบบมือถือ

    หลายๆคนมักจะถามว่า ถ้าไม่มีฉะเซ็นเราสามารถใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องตีฟองนมไฟฟ้าหรือตะกร้อตีไข่ที่ใช้ทำขนมได้ไหม ที่จริงเราสามารถใช้แทนกันได้ แต่อุปกรณ์ที่นำมาใช้ทดแทนก็มีข้อเสียอยู่เล็กน้อย โดยเฉพาะเมื่อนำมาตีละลายมัทฉะจะทำให้ได้มัทฉะที่ไม่เนียนละเอียดเหมือนเราตีด้วยฉะเซ็น เมื่อนำไปทำเครื่องดื่มก็จะมีตะกอนเยอะ รสชาติที่ได้ไม่เข้มและละมุนเท่าที่ควร ทำให้เครื่องดื่มดูไม่ค่อยน่ารับประทานนั่นเอง

    ดูบทความเพิ่มเติม

    ชวนทำความรู้จัก โฮจิฉะ (Hojicha) คืออะไร ผงโฮจิฉะ ทำไมถึงเรียกว่าชาเขียวคั่ว

    โฮจิฉะ (Hojicha) คืออะไร ชาเขียวคั่วญี่ปุ่น ทำมาจากใบชาอะไร ? 

    โฮจิฉะ ผงชาเขียวคั่ว ผงชาเขียวแต่ไม่ได้มีสีเขียว แต่จะมีสีน้ำตาล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผงชาเขียวที่มีคว …
    มัทฉะ vs กาแฟ ต่างกันยังไง เครื่องดื่มยอดนิยมที่มีคาเฟอีนช่วยให้คุณตื่นตัวสดชื่น

    มัทฉะ vs กาแฟ ต่างกันยังไง ? เลือกดื่มแบบไหนดี

    มัทฉะ vs กาแฟ เมนูเครื่องดื่มที่หลายคนชื่นชอบ ด้วยสีสัน กลิ่นหอมและรสชาติที่ต่างกัน ทำให้ทั้ง 2 เ …
    ผงมัทฉะญี่ปุ่นแท้ ผงมัทฉะคุณภาพ ผงมัทฉะเกรดพรีเมียม ผงมัทฉะซื้อที่ไหน

    ผงมัทฉะซื้อที่ไหน จำหน่ายผงมัทฉะคุณภาพ ราคาพิเศษ

    ผงมัทฉะซื้อที่ไหน กำลังมองหาโรงงานขายผงมัทฉะ แหล่งขายผงมัทฉะคุณภาพ บอกเลยว่าสามารถเลือกใช้บริการจ …

    ดูบทความทั้งหมด